เริ่มต้นทำ Social Listening ด้วย Mandala ต้องใช้งบประมาณเท่าไหร่

การทำงานเบื้องต้นของ Mandala : Social Listening

mandala-website-analytics-title

แมนดาล่า อนาไลติกส์ เป็นเครื่องมือฟังเสียงจากโซเชียล หรือ Social listening tool

ที่มีความสามารถในการกวาดข้อมูลจำนวนมากมายมหาศาลในโลก Social Media มาเก็บไว้ในระบบ และมีการสร้างเป็น Dashboard ให้เราสามารถเห็นข้อมูลเชิงลึก หรือ Insight ที่สำคัญจากข้อมูลมากมายที่กวาดมา ทำให้เรามีข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการพัฒนาสินค้า วางแผนการตลาดให้เข้าถึงความต้องการเชิงลึก ที่เราอาจไม่เคยรู้ ไม่เคยได้ยินมาก่อน

ช่องทางที่ Mandala : Social Listening สามารถกวาดข้อมูลมาได้แบ่งเป็น 3 กลุ่มคือ

• Social Analytics คือความสามารถในการกวาดข้อมูลจาก Facebook, Twitter, Instagram, Youtube
• Forum Analytics คือความสามารถในการกวาดข้อมูลจากฟอรั่มชื่อดังคือ Pantip.com
• Website Analytics คือความสามารถในการกวาดข้อมูลจากเว็บไซต์ต่างๆมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเว็บข่าว หรือบล็อก

mandala-website-analytics

โดยการที่ Mandala : Social Listening จะกวาดข้อมูลมาได้นั้นต้องอาศัยการกำหนด Keywords ที่ต้องการให้ Mandala Listening โดย Keywords ที่ใช้จะมี 2 กลุ่มคือ

  • Premium Keyword คือการบอกกับแมนดาล่าว่า Keywords กลุ่มนี้มีความสำคัญ ให้พยายามกวาดข้อมูลชุดนี้ก่อน Regular Keywords และเนื่องจากการกวาดหา Premium Keyword จำเป็นต้องใช้ทรัพยากรของระบบสูง ทำให้แต่ละแพ็คเกจของแมนดาล่า มีการจำกัดจำนวน Premium Keywords ให้เลือกใช้ตามโจทย์ธุรกิจ และงบประมาณ
  • Regular Keywords คือกลุ่ม Keywords ที่มีความสำคัญกับแบรนด์หรือสินค้ารองลงไป โดยที่ Mandala : Social Listening จะให้ความสำคัญในการกวาดหารองลงมาจาก Premium

การใช้ Mandala : Social Listening ขั้นสูง เพื่อ Insight ที่ลึกขึ้น

mandala-website-analytics-tag

• การทำ Tagging ทำให้เราสามารถจัดกลุ่มของ Mentions เหล่านั้นได้ เช่น Keyword “เบอร์เกอร์” มีการใช้
• การกำหนด Focus Channels เพื่อให้เราติดตาม หรือใส่ใจช่องทาง Social Media Account นั้นๆเป็นพิเศษ
• การ Export ข้อมูลไปทำ Visualize กับเครื่องมืออื่นๆ ทำให้องค์กรที่มีนักวิเคราะห์ข้อมูล สามารถนำข้อมูลดิบ หรือ Raw Data ไปใช้กับเครื่องมือ Data Visualizations ที่ตนเองถนัดได้

เราสามารถนำ Mandala : Social Listening ไปประยุกต์ใช้ในงาน

• ป้องกัน Crisis หรือความขัดแย้งจากความไม่พอใจในสินค้าหรือบริการ
• เก็บ Insight ที่ได้มาพัฒนาสินค้าและบริการในอนาคต
• เป็นช่องทางในการกลับไปสร้าง Engagement กับลูกค้าเก่าๆได้ดี

อาชีพหรือบริการที่สามารถต่อยอดได้จากความสามารถในการใช้งาน Mandala : Social Listening

• นักศึกษา สามารถเก็บข้อมูลทำวิเคราะห์จากช่องทาง Social ในหัวข้อที่สนใจ
• ทีมการตลาด ใช้พัฒนาการสื่อสาร และวิเคราะห์ได้แม่นยำ ฉับไว ในหัวข้อเฉพาะ ผ่านการทำ Quick research และแถมได้ Cosmos Trend ที่จะดู Trending topic
• นักธุรกิจ และสายงานอื่นๆ สามารถหาข้อมูล ที่ง่าย แต่ได้ผลที่ทำให้คุณนำไปปรับใช้ได้อย่างเกินพอ
• Agency รับงานวิเคราะห์ Brand Sentiment ระหว่างลูกค้าและคู่แข่งในธุรกิจเดียวกัน
• Agency รับงาน Monitor Crisis ช่วยจับตามองว่ามี Social Account ไหนบ้างที่พูดถึงลูกค้าในแง่ลบ
• Freelance รับวาง Content Strategy โดยใช้ข้อมูลจาก Social Listening

วิเคราะห์ความคุ้มค่าของแต่ละแพ็คเกจ


สำหรับแพ็คเกจ ของแมนดาล่าที่แนะนำให้พี่ๆน้องๆชาวมาร์เทค ได้ใช้คือ Anyone (1,617บาท/เดือน) หรือ Personal (5,247บาท/เดือน) โดยจุดแตกต่างระหว่างแพ็คเกจทั้ง 2 ตัวนี้ ที่ต้องพิจารณาเป็นพิเศษคือ

Social-listening-package

• จำนวนข้อความ (Mentions) สูงสุดต่อเดือน 50,000 และ 150,000 Mentions
สิ่งที่ต้องพิจารณา : ถ้า Brand ที่ต้องการติดตามยังไม่ได้ Mass หรือเป็นที่รู้จักวงกว้าง การใช้ Anyone ก็น่าจะเพียงพอและตอบโจทย์
• จำนวนข้อความ (Mentions) สูงสุดต่อแคมเปญ 50,000 และ 100,000 Mentions
สิ่งที่ต้องพิจารณา : ถ้าแคมเปญรันระยะเวลาสั้นๆ 2-4 Weeks การใช้ Anyone ก็น่าจะเพียงพอและตอบโจทย์
• จำนวนคีย์เวิร์ดพรีเมียม 6 และ 10 Keywords
สิ่งที่ต้องพิจารณา : Keywords ที่เป็นชื่อสินค้าจำเป็นต้องใช้ Premium Keywords ถ้าแบรนด์ เรามีสินค้าค่อนข้างเยอะการใช้ Personal จะตอบโจทย์มากกว่า
• Focus Channel ทั้งหมด 16 และ 33 Channels
สิ่งที่ต้องพิจารณา : กรณีแบรนด์ และสินค้าถูกพูดถึงในวงกว้าง มีหลากหลายเพจพูดถึง หรือแม้แต่การที่เรามีการใช้ Influencer Marketing ค่อนข้างเยอะ การใช้ Personal ที่มี Focus Channel ให้ติดตามเยอะหน่อยจะสะดวกมากกว่า Anyone

แต่ข้อดีของ Mandala คือ มีระบบ Subscription ที่ยืดหยุ่น และเปิดให้เราเลือกจ่ายค่าบริการแบบแฟร์ๆ กับผู้ใช้งานอย่างพวกเรา โดยสามารถที่จะเลือกแผนการจ่ายค่าบริการได้แบบ

  • Pay as You Go จ่ายรายเดือน เราจะยกเลิกเมื่อไหร่ก็ได้*
  • 12-month plan เลือกแพ็คเกจรายเดือน 12 เดือน ที่เราจะจ่ายเดือนได้ถูกลง*
  • Pay one time คือการเลือกจ่ายก่อนเลย 17,464 บาท และสามารถใช้งานได้ 12 เดือน ซึ่งถ้าเลือกแผนนี้ เราจะเสียค่าบริการแค่เดือนละประมาณ 1,455 เท่านั้นเอง*

* Pay as you go (Auto Renewal, Cancel Anytime) ยกเลิกได้ตลอดเวลา เดือนละ 1,617 บาท ($49)
ทำสัญญา 12 เดือน เลือกจ่ายแบบรายเดือน เดือนละ 1,536 บาท เลือกจ่ายแบบ Pay One Time 17,464 บาท (เฉลี่ย เดือนละประมาณ 1,455 บาท)

Similar Posts