feature-mandalause-case

ไอเดียเด็ดๆในการใช้ Social Listening สำหรับ B2B และ B2C

หลังจากที่เราได้รู้จักประโยชน์ของการใช้ Social Listening ไปแล้ว ลองมาดูกันว่าเราสามารถประยุกต์ใช้ Social Listening ในแต่ละประเภทธุรกิจอย่างไรได้บ้าง


B2B หรือ Business to Business คือรูปแบบการทำธุรกิจประเภทซื้อสินค้า หรือบริการระหว่างธุรกิจด้วยกัน ซึ่งโดยปกติแล้ว รูปแบบธุรกิจของ B2B มักจะ มีความซับซ้อน ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการครั้งแรก ลูกค้าอาจต้องใช้เวลาในการพิจารณาค่อนข้างนานกว่าธุรกิจB2B ความเคลื่อนไหวหรือพฤติกรรมผู้บริโภคในแต่ละกลุ่มหรือ Industry Movement จะมีผลเกี่ยวข้องกับมูลค่ารวมของตลาดนั้น ๆ

กลยุทธ์การใช้ Mandala Social Listening สำหรับธุรกิจ B2B ได้แก่

Accelerate ยอดขายกับคู่ค้าด้วยเทรนด์การตลาด
ดูแนวโน้มว่ากลุ่มธุรกิจของลูกค้าที่เรากำลังทำตลาดที่อยู่ มีแนวโน้มที่จะเลือกใช้สินค้าและบริการใดจากเราเพิ่ม เช่น ดูแนวโน้มในกลุ่มธุรกิจ Bakery ว่าเมนูไหนกำลังขายดีและมี Demand ของการค้นหาใน Social

ทำให้เราสามารถนำข้อมูล มาวางแผนการผลิตวัตถุดิบ เพื่อให้พร้อมรับความต้องการของตลาด หรือนำข้อมูลมาพัฒนาสินค้าเทรนด์ใหม่ ๆ เพื่อป้อนสู่ตลาดผ่านคู่ค้าได้อย่างรวดเร็ว

ตัวอย่างการวิเคราะห์เทรนด์การตลาดด้วย Mandala Social Listening

วิเคราะห์ว่า “ครัวซองต์” ในมุมมองของผู้บริโภค สะท้อนเทรนด์การตลาดดังนี้

  • หากเป็น เนื้อครัวซองต์ คนเริ่มกลับมามองหาความ Original ที่เน้นเรื่องความนุ่ม ข้างใน ไม่ใช่โพรง
  • มีการนำเอาแป้งที่ใช้ในการทำครัวซอง มาทำเป็นขนมชนิดอื่นๆอย่างเช่นที่เรียกว่า cruffle หรือโดนัทครัวซองต์ครับ
  • ส่วนผสม ที่ขึ้นด้วยคำว่า “ฝรั่งเศส” เป็นปัจจัยในการ ช่วยทำให้เพิ่มราคา และการดึงดูดได้มากขึ้น
  • เวลาพูดถึงครัวซองต์แล้ว “เครื่องดื่ม ร้านกาแฟ” คือสิ่งที่มาคู่กัน



Expand Partnership เข้าใจ Movement ของ Industry เพื่อเพิ่มยอดขายให้ถูกทาง
การมองหา Emerging หรือธุรกิจประเภทใหม่ หรือแม้กระทั่งคู่ค้าใหม่ๆ ที่จะสามารถช่วย คาดคะเน หรือการกระจายสินค้ารวมถึง แนวทางการขายในรูปใหม่ๆ อาทิ ธุรกิจขายอุปกรณ์เบเกอรี่ ที่เมื่อรู้ทิศทางการเปลี่ยนแปลงจากสถานการณ์ covid-19 จึงใช้การวิเคราะห์การเติบโตของตลาด
และพฤติกรรมการซื้อที่เปลี่ยนไป ซึ่งเราจะสังเกตได้ว่า ได้มีธุรกิจ chain ขายอุปกรณ์เบเกอรี่ เพิ่มขึ้นในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา


เข้าใจ Demand ที่จะช่วยให้ Forecast Supply ได้ก่อนแบบไม่จมทุน
ในเชิงธุรกิจ B2B เรื่อง supply and demand เป็นเรื่องสำคัญ เพื่อกำหนดทิศทางการวางโครงสร้างเพื่อให้ธุรกิจได้กำไรสูงสุด ในแต่ละช่วงเวลา ในจุดนี้ นอกจากการเข้าใจกลไก ทิศทาง ตลาดใน local แล้วการรู้ในเชิง Global ที่อาจจะเป็นทั้งต้นทาง และจุดขยายธุรกิจ ด้วยนั้น จะยิ่งเป็นประโยชน์

และหากมองอีกหนึ่งจุดเด่น ในความสามารถของ Mandala ที่ใช้ “ภาษา” ในการจับ keyword และช่วย Explore ได้อีกหลากหลายประเทศ ก็จะได้ประโยชน์ ในเชิงการเปรียบเทียบ แม้กระทั่งค้นหาผู้ผลิต แหล่งต้นทางวัตถุดิบ ทางเลือกของการนำมาใช้ และในมุมการกระจายสินค้า ในจุดที่อาจจะยังเข้าไม่ถึง



กลยุทธ์การใช้ Mandala Social Listening สำหรับธุรกิจ B2C

B2C หรือ Business to Consumer แตกต่างออกไป คือรูปแบบการทำธุรกิจเน้นขายของเข้าถึงวงกว้างหรือMass ผู้บริโภคสามารถตัดสินใจซื้อสินค้าได้เพียงชั่วพริบตา ลูกค้าอาจมีความยึดติดในแบรนด์น้อยมีการเปลี่ยนไปใช้สินค้าของคู่แข่งได้อย่างรวดเร็ว มีการตัดสินใจซื้อสินค้าตามผู้มีชื่อเสียงในโลกSocial



Realtime Content Marketing ด้วย Cosmos Trends
เนื่องด้วยปัจจุบันคนที่รุ่นใหม่มีพฤติกรรมการเสพคอนเทนท์ที่รวดเร็ว และเวลามีกระแสสังคมหรือเทรนด์ต่างๆเข้ามาทุกคนจะพุ่งความสนใจไปที่เรื่องนั้น ๆ กลยุทธ์การทำคอนเทนท์แบบเกาะประเด็นตามสถานการณ์ ก็ยังเป็นวิธีการที่ทำให้แบรนด์สามารถเพิ่มการมองเห็น (Brand Visibility) ได้ดี

นักการตลาดจึงต้องการเครื่องมือที่ Monitor Trend สำคัญๆได้แบบเรียลไทม์ เพื่อให้สามารถสร้างสรรค์คอนเทนท์หรือครีเอทีฟแคมเปญได้อย่างรวดเร็ว

mandala-cosmos-trend
ดูประเด็นที่น่าสนใจผ่าน Cosmos Trends โดยสามารถแยกตาม Platforms ได้เลย


Segmentation ด้วย Tag Management
วิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายในตลาดด้วยการทำ Segmentation ด้วย Tag Management การใส่ Tag หรือ Label ของแต่ละ Voices ได้ว่า Post, Tweet หรือ Video นั้น ๆ ได้พูดถึงแบรนด์/สินค้าของเราในบริบทไหนบ้าง ตัวอย่างการ การแบ่ง Segmentations ตามปัญหาหรือ Pain point ในการซื้อคอนโด (กลับไปอ่าน > การทำ Behavioral Segmentations ด้วย Tag Feature ใน Mandala Analytics)



Affiliated Marketing Tracking การมอบผลประโยชน์เพิ่มเติมให้ Influencer ตามประสิทธิภาพ
Engagement ที่พวกเค้าสร้างให้เรา จากการใช้ Feature ของ Mandala ที่ชื่อว่า Focus Channel ก็ทำให้เราสามารถติดตามประสิทธิภาพ Engagement ของ Influencer แต่ละคนได้โดยง่าย

ทำให้เราสามารถสร้าง Affiliated Marketing Program หรือการจ่ายผลประโยชน์ (Incentive หรือ Commission) ทำให้สามารถเพิ่มแรงจูงใจให้ Influencer หรือ Content Creator เหล่านั้นตั้งใจสร้างสรรค์เนื้อหาดี ๆ (ของสินค้าเรา) ออกมาได้เรื่อย ๆ

ตัวอย่างการเลือก Filter เฉพาะ Channels ที่สนใจ


Reputation Proactive Management การรักษาชื่อเสียงของแบรนด์
ด้วยความสามารถของ Social Listening อย่าง Mandala ก็ทำให้เราสามารถ Monitor Keywords ที่สำคัญ ๆ เช่นชื่อแบรนด์ ชื่อสินค้า เพื่อให้เห็นความเคลื่อนไหวที่มีแนวโน้มจะส่งผลทางลบต่อแบรนด์ของเรา ก็ทำให้เราสามารถเข้าไปแก้ปัญหานั้น ๆ ก่อนที่วิกฤติจะลุกลามเป็น Social Spreading ไปในที่สุด

ตัวอย่าง การตรวจพบ Negative Mention เกี่ยวกับ CPU Computer ทำให้แบรนด์สามารถเข้าไปสื่อสารพูดคุยเพื่อรักษาชื่อเสียงได้

วิเคราะห์ความคุ้มค่าของ Mandala


สำหรับแพ็คเกจ ของแมนดาล่าที่แนะนำให้พี่ๆน้องๆชาวมาร์เทค ได้ใช้คือ Anyone (1,617บาท/เดือน) หรือ Personal (5,247บาท/เดือน) โดยจุดแตกต่างระหว่างแพ็คเกจทั้ง 2 ตัวนี้ ที่ต้องพิจารณาเป็นพิเศษคือ

Social-listening-package

ข้อดีของ Mandala คือ มีระบบ Subscription ที่ยืดหยุ่น และเปิดให้เราเลือกจ่ายค่าบริการแบบแฟร์ๆ กับผู้ใช้งานอย่างพวกเรา โดยสามารถที่จะเลือกแผนการจ่ายค่าบริการได้แบบ

  • Pay as You Go จ่ายรายเดือน เราจะยกเลิกเมื่อไหร่ก็ได้*
  • 12-month plan เลือกแพ็คเกจรายเดือน 12 เดือน ที่เราจะจ่ายเดือนได้ถูกลง*
  • Pay one time คือการเลือกจ่ายก่อนเลย 17,464 บาท และสามารถใช้งานได้ 12 เดือน ซึ่งถ้าเลือกแผนนี้ เราจะเสียค่าบริการแค่เดือนละประมาณ 1,455 เท่านั้นเอง*

Similar Posts