การติดตั้งและใช้งาน GA4 หรือ Google Analytics รุ่นล่าสุด
This post is also available in: อังกฤษ
เครื่องมือ Web Analytics หรือ บริการวิเคราะห์เว็บ โดยจะคอยติดตาม (Tracks) และรายงานการเข้าชมเว็บไซต์ (Reports Website Traffic) ในปัจจุบันเป็นส่วนนึงใน Marketing Platform ภายใต้แบรนด์ Google เปิดให้บริการมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2005 และมีการปรับปรุงคุณภาพมาอย่างต่อเนื่อง
เนื่องจาก Google ประกาศว่าจะเลิกใช้ GA Version เดิมหรือ UA version ตอนกลางปี 2023 ทำให้เราจำเป็นต้องทำการติดตั้ง GA4 เตรียมไว้
ไม่ได้ เนื่องจากทั้ง 2 versions มีการเก็บข้อมูลในรูปแบบไม่เหมือนกัน
Google Analytics 4 กับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป
- เปลี่ยนจาก Session-Based หรือการดูข้อมูลแบบเซสชั่น ไปเป็นการดู Event-Based
- The Global Site Tag ที่ช่วยให้เราสามารถเปิดใช้ฟีเจอร์ที่ต้องมีการเปลี่ยนแปลง Code ในเว็บไซต์โดยไม่จำเป็นต้องแก้ไข Tag
- Goal Conversion แบบ Destination URL จะไม่สามารถใช้งานได้อีกต่อไป ต้องอาศัยการ Custom Event แทน
Google Analytics 4 เป็น Version ใหม่ของ Google Analytics ที่ออกแบบมาเพื่อให้เราสามารถเก็บข้อมูลได้ทั้ง Website และ Mobile Application ได้ที่เดียว โดยจุดที่แตกต่างที่สุดระหว่าง GA4 กับ GA แบบเดิมหรือที่เรียกกันว่า Universal Analytics คือ
Google Analytics UA | Google Analytics 4 |
---|---|
เป็น Session-Based หรือให้ความสำคัญกับจำนวนเซสชั่น | User-Based หรือให้ความสำคัญกับผู้ใช้งาน |
ใช้การมองเห็นของแต่ละหน้าเป็นมาตรฐานของ Event | ดูการมีส่วนร่วมหรือ Engagement จาก 6 Events ได้แก่ คลิก เลื่อนหน้าจอ ดูหน้าสินค้า |
ต้องไปกำหนด Event ผ่าน Google tag Manager | กำหนด Event ได้เองแบบละเอียด |
การกำหนด Goal ได้แบบ Destination Page และ Event | การกำหนด Goal ต้องอาศัยการ Custom Event |
การใช้งาน Google Analytics ใหม่ หรือ GA4
Navigation ด้านซ้ายประกอบไปด้วย
- Home คือข้อมูลที่ทาง GA4 ดึงจากแต่ละส่วนออกมาแสดงคร่าวๆ
- Reports คือส่วนที่เราจะเข้าไปดูข้อมูลบ่อยๆ จะแยกย่อยเป็น Realtime, Life cycle, User และ Tech
- Explore คือส่วนที่เปิดให้เราสามารถสร้างรูปแบบรายงานได้เอง
- Advertising คือการเชื่อมโยง GA4 เข้ากับ Google Ads ทำให้เราสามารถเข้าถึงข้อมูลโฆษณาได้ผ่าน GA4 ในที่เดียวเลย
- Configuration คือส่วนการปรับแต่งระบบ
Home ส่วนที่ทาง GA4 ดึงข้อมูลจากแต่ละส่วนมาแสดง
ข้อมูลที่ดึงมาแสดงส่วนนี้จะเป็นภาพรวมเช่น
- จำนวน User
- Insights ที่ทาง GA4 มีการดึงมา
- ข้อมูล Real-time ภายใน 30 นาทีที่ผ่านมา
Reports : ในนี้จะแยกย่อยเป็น Realtime, Life cycle, User และ Tech
Real-time ประกอบไปด้วยส่วนย่อยๆได้แก่ Real-time ข้อมูลภายใน 30 นาทีที่ผ่านมาแบบละเอียด แบ่งตาม Geo-location, Source ที่นำพา Usersเข้ามา
Reports > Life cycle > Acquisition
Acquisition คือการดูว่าในพีเรียดที่เราระบุ มีUsers เข้ามาผ่านช่องทางไหนได้บ้าง ไม่ว่าจะเป็น Direct, Organic, Paid Search, Display โดยเบื้องต้น GA4 จะดึงข้อมูลแชนแนลที่ดึงผู้ใช้งานเข้ามาครั้งแรก First user default channel grouping
Users จะถูกจัดไปที่ Default channel grouping ต่างๆได้ตามเงื่อนไขเหล่านี้
Channel ช่องทาง | Definition นิยาม |
---|---|
Paid Search | Traffic จาก Google Ads และประเภทของ Ads Networks คือ “Google Search”, “Google Partners” |
Paid Video | ประเภทของ Ads Networks คือ “YouTube Search”, “YouTube Videos” |
Display | ประเภทของ Ads Networks คือ “Google Display Network” |
Direct | Medium ของ Session ที่เข้ามาคือ “(not set)”, “(none) |
Paid Shopping | Campaign Name regex ^(.(([^a-df-z]|^)shop|shopping).)$) และ Medium ของ Session ที่เข้ามาต้องเป็น regex ^(.cp.|ppc|paid.*)$ |
Paid Search | Medium ของ Session ที่เข้ามาคือ regex ^(.cp.|ppc|paid.*)$ |
Paid Social | Medium ของ Session ที่เข้ามาคือ regex ^(.cp.|ppc|paid.*)$ |
Paid Video | Medium ของ Session ที่เข้ามาคือ regex ^(.cp.|ppc|paid.*)$ |
Display | Medium ของ Session ที่เข้ามาคือ “display”, “banner”, “expandable”, “interstitial”, “cpm” |
Organic Social | Medium ของ Session ที่เข้ามาคือ “social”, “social-network”, “social-media”, “sm”, “social network”, “social media” |
Organic Search | Source มาจาก search sites ที่ทาง Google ได้กำหนดไว้ หรือการกำหนด Medium = organic |
การกำหนด Medium = email|e-mail|e_mail|e mail | |
Affiliates | การกำหนด Medium = affiliate |
Referral | การกำหนด Medium = referral |
SMS | การกำหนด Medium = sms |
Mobile Push Notifications | การกำหนด Medium = “mobile” or “notification” |
Reports > Life cycle > Engagement
การวิเคราะห์การมีส่วนร่วมของ Users ด้วยการดู Event ต่างๆที่เกิดขึ้นใน Website
Reports > Life cycle > Monetisations
กรณีที่เราเป็นระบบ E-commerce Platform หรือมีการเชื่อมโยงข้อมูล Revenue ระหว่างระบบงานขายของตัวเองมาที่ GA4 จะทำให้เราเห็นว่าภาพรวมรายได้ และแยกย่อยได้ตาม SKU สินค้า และแยกได้ตาม Chennels ที่พา Users เข้ามา
Explorations
การปรับแต่ง Report แบบละเอียดด้วยตัวเอง ซึ่งจต้องอาศัยึว่ทสามารถด้านเทคนิคพอสมควร
- Segments ของ User
- Dimensions เช่น Channel Grouping
- Metric เช่น Sessions, Active Users
Advertising > Conversion paths
คือการดู Data-driven model หรือดูว่าก่อนที่ Users จะเข้ามาซื้อสินค้าของเรา มีการเดินผ่าน Touch Points อย่างไรบ้าง
ทั้งนี้ Google Analytics UA และ Google Analytic4 ใช้ Data คนละชุดกัน หมายความว่าจากเดิมถ้าเราใช้ UA version อยู่แล้วเปลี่ยนไปใช้ GA4 ข้อมูลจะต้องเก็บ (Collect) ใหม่หมดจากศูนย์ คำแนะนำของผู้เขียนคือ ควรติดตั้ง GA ทั้ง 2 Versions ไปพร้อมๆกันเลย โดยใน Website ของเราจะต้อง Insert Tracking ลงไปทั้ง 2 Versions นั่นเอง
การติด GA4 ผ่าน Google Tag Manager
1. สมัครใช้งาน Google Tag Manager
2. สร้าง Workspace ใหม่หรือใช้ Default Workspace กรณีที่เรามีการใช้งาน GTM (Google Tag Manager) ไม่ซับซ้อนมาก
3. เลือกสร้าง New Tag และเลือก Choose tag type โดย GTM จะแนะนำประเภทของ Tag ที่ใช้บ่อยๆมาให้เลย ให้เราเลือกทำทีละ Tag
4. หลังจากเลือก Tag เป็น Google Analytics: Universal Analytics แล้ว ให้เลือก Triggering เป็น All Page และใส่ Tracking ID ที่ได้มาจาก Menu Admin ใน Google Analytics
5. หลังจากนั้นให้ Save Google Analytics Universal Analytics แล้ว ให้เลือกสร้าง New Tag ใหม่สำหรับ GA4 โดยเลือก Google Analytics: GA4 Configuration และใส่ Tracking ID ที่ได้มาจาก Menu Admin ใน Google Analytics4 แล้วกด Save
6. หลังจากนั้นใน GTM ให้เลือก Submit Workspace แล้วกด Publish ทดสอบการไหลเข้าของ Data ได้โดยการกลับมาที่ Google Analytics อีกครั้งแล้วไปที่ Menu Admin แล้วดูที่ Property คลิกที่ Tracking Info > Tracking Code
7. เลือกตรง Send Test Traffic จะมีหน้าจอ Pop Up Website ของเราขึ้นมา และถ้าเรามีการติด GTM ถูกต้อง จะมีตัวเลข Active User แสดงขึ้นมาอย่างน้อย 1 User เป็นอันว่า Google Analytics ของเราพร้อมใช้งาน
ติดต่อขอรับคำปรึกษาด้าน Marketing และ Technology
- ให้คำปรึกษาตั้งแต่การวาง Technology Roadmap
- การเลือกเครื่องมือที่ตอบโจทย์ธุรกิจที่สุด
- การวาง Data Foundation ให้รองรับสเกลของธุรกิจ
- การ Implement Platform อย่างมีระบบ
- การทำ Change Management และการติดตามการ Adoption
- ควบคุมการบริหารโครงการด้วยผู้มีประสบการณ์ตรง
- รับจำนวนจำกัดไม่เกิน 2 Projects / เดือน