What is adalo

สอนใช้งาน Adalo ระบบ No Code App Builder ที่ใช้งานได้ฟรีๆ

  1. No Code หรือ Low Code Platforms คืออะไร

    No Code หรือ Low Code Platformsหมายถึง SAAS หรือ Software as a service ที่ช่วยให้เราสามารถพัฒนาระบบ Application ต่างๆทั้ง Web Application และ Mobile Application ประโยชน์เพื่อสร้างระบบที่ไม่ซับซ้อน ใช้งานง่าย สำหรับใช้งานกันเองในองค์กรขนาดเล็ก หรือใช้เพื่อพัฒนา Phototype ของ Digital Product/Services เพื่อทดลองโมเดลธุรกิจ (Proofing Business Model) กับกลุ่มเป้าหมายเล็กๆ หรือตลาดใหม่ๆ

  2. ควรศึกษาเครื่องมือ No Code อะไรบ้าง

    สำหรับ No Code ในกลุ่ม App Builder แนะนำให้ศึกาา Adalo, Flutterflow.io, Bubble.io และ Appsheet

Adalo (Turn Your Client’s Dream Into Reality Without Coding!)


อดาโล่ มีนิยามว่า “คุณมีพลังที่จะสร้างแอพพลิเคชั่นของตัวเองได้ โดยไม่ต้องเขียนโค้ดสักบรรทัด !! อดาโล่ คือ No-Code App Builder ที่มีความสามารถในการสร้าง Web Application และ Mobile Application หรือ Progressive web application (PWA)

adalo-cover

อีกทั้งเรายังสามารถเผยแพร่ (Publish) Application ที่เราสร้างในอดาโล่ ขึ้นไปบน App Store ทั้ง Google Play และ Apple App Store

สำหรับการใช้งานอดาโล่ มีทั้งการสร้าง Application จาก Template สำเร็จรูปที่มีมาให้ ตามตัวอย่างด้านล่าง ไม่ว่าจะเป็น Template ที่ออกแบบมาเพื่อ

adalo-templates
  • Coaching App ที่เหมาะสำหรับธุรกิจโค้ช ฟิตเนส ต่างๆที่ต้องการสร้าง Apps ให้ลูกค้าซื้อคอร์สเรียน
  • Ordering เหมาะสำหรับธุรกิจการขายอาหารต่างๆ ที่หรือธุรกิจใดๆก็ตามที่เน้นการสั่งซื้อสินค้า
  • Facebook Clone การสร้าง Social Network สำหรับใช้ในหน่วยงานเล็กๆ
  • Real Estate App ธุรกิจนายหน้าขายอสังหาริมทรัพย์
  • Minimal Blog App คือ Application ที่เปิดให้ลูกค้าเข้ามาอ่านบทความ
  • Product Hunt Application ที่เป็น Apps รวบรวมสินค้าและเทคโนโลยีใหม่ๆมาให้ทุกคนอ่าน
  • Ecommerce App สร้างระบบซื้อ-ขายสินค้าออนไลน์แบบง่ายๆ
  • Appointments App ระบบนัดหมายงานต่างๆ
  • Directory App สำหรับรวมข้อมูลต่างๆเช่นข้อมูลพนักงานในบริษัท หรือระบบรวมรายชื่อผู้รับเหมา

แต่ถ้าเราเลือกสร้างจาก Blank Template เราจะมาพบหน้าตาการทำงานของอดาโล่ ดังภาพ ทั้งนี้
ขออธิบายการใช้งาน UI ของอดาโล่ตามเลขแต่ละตัวคือ

adalo-tutorial

1. Add Button ในส่วนนี้จะเปิดหน้าต่างย่อยๆออกมาเป็น 2 ส่วนคือ Add Component และ Add Screen โดยปุ่ม Add Components จะมีส่วนใช้งานสำเร็จรูปที่เราสามารถคลิก และวางไป Workspace (พื้นที่การทำงาน) ได้เลย โดยอดาโล่ ได้แบ่ง Components เป็นกลุ่มๆไว้คือกลุ่ม

adalo-components
  • Navigation คือ กลุ่ม Component สำหรับนำทางผู้ใช้ ได้แก่ Tab Bar App Bar
  • Button คือปุ่มต่างๆ ได้แก่ Button, Action Button, Icon, Toggle
  • Lists การเพิ่ม ลิสท์รายการสำเร็จรูปในรูปแบบต่างๆ
  • Forms & Fields  การใส่แบบฟอร์ม และฟิลล์กรอกข้อมูล
  • Simple คือการใส่ Components พื้นฐานต่างๆเช่น ข้อความ รูปภาพ วงกลม สี่เหลี่ยม

และปุ่ม Add Screen คือการเพิ่มหน้าให้ Application โดยประเภทหน้า ที่มักจะมีการใช้งานบ่อยๆ อดาโล่จะสร้าง Layout ไว้ให้เลย หรือเราสามารถสร้าง Screen ใหม่จาก Blank Screen ก็ย่อมได้

adalo-add-screen

2. Branding ในส่วนนี้จะเปิดหน้าต่าง ให้เราปรับแต่งชุดสี (Color) รูปแบบตัวหนังสือ (Fonts) ได้ละเอียด โดยเบื้องต้น อดาโล่ ฟรีเวอร์ชัน จะมี Font ให้ใช้ค่อนข้างจำกัด

adalo-branding

3. Screen ในส่วนนี้จะเปิดดูหน้าScreen ที่เรามีทั้งหมดใน Workspace และจะเห็นว่าเราชี้เมาส์ที่ Welcome Screen ไหน หน้าScreen ใน Workspace ด้านขวา ก็จะมีกรอบสีเหลืองๆขึ้นมา เราก็สามารถไปจัดการปุ่ม และ Action ต่างๆในหน้านั้นได้

adalo-screen

4. Databases ในส่วนนี้จะเปิดดูข้อมูลในระบบฐานข้อมูลของอดาโล่ โดยเราสามารถสร้างเป็น Collection แยกได้ เช่น User Collections สำหรับเก็บข้อมูลผู้ใช้งาน และ Product Collection สำหรับเก็บข้อมูลสินค้าก็ย่อมได้

adalo-databases

5. Setting ในส่วนนี้คือการกำหนดค่าพื้นฐานต่างๆของ Applicationเช่น การกำหนดชื่อ กำหนดคำอธิบาย เปลี่ยนไอคอนต่างๆ ตลอดจนเพิ่มลดสิทธิ์ของผู้ใช้งานคนอื่นๆ ที่จะเข้ามาร่วมพัฒนา Application ด้วยกัน

adalo-setting

6. Publish ในส่วนนี้จะกำหนดได้ว่าเราจะเผยแพร่ Application แบบไหนบ้าง ไม่ว่าจะเป็น Android App, iOS App, Progressive Web App ซึ่งการจะเผยแพร่ได้หลากหลายรูปแบบ เราต้องอัพเกรดเป็น Pro Package
7. Analytic คือความสามารถในการ Track ข้อมูลต่างๆไม่ว่าจะเป็น จำนวนคนSignup หน้าScreenที่ใช้งาน และความถี่ในการใช้งาน เป็นต้น
8. The Canvas (Workspace) คือพื้นที่แสดงความเชื่อมโยงของ Screens ทั้งหมด โดยแต่ละ Screenจะมีเส้นเชื่อมต่อกันตาม Actions ที่เรากำหนดนั่นเอง

adalo-sample

ราคา Package  อดาโล่ เปิดให้เราทดลองใช้งานได้ฟรีแทบทุกฟีเจอร์ แต่ถ้าเราต้องการเผยแพร่ Application ของเราขึ้นใน App Store ต่างๆ เราต้อง Upgrade Account เป็น Pro ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายเดือนละ $50 US dollar หรือถ้าเลือกที่จะจ่ายเป็นปี อดาโล่จะลดให้เหลือเดือนละ  $39 US dollar หรือตีเป็นเงินไทยประมาณปีละ 15,551 บาทนั่นเอง

adalo-pricing

ติดตาม Marketing Tech Thailand ใน Social Media ได้ที่
🔥 Facbook Page : Marketing Tech Thailand
🔥 Facebook Group : Marketing Tech Thailand – Group
📺 Youtube : Marketing Tech Thailand
🌎 Linkedin Group (Global Community) : Marketing Tech Community in Thailand

Similar Posts