cover-no-code-platform

สร้างธุรกิจอย่างรวดเร็วด้วย No Code Platform

No Code หรือ Low Code Platforms คืออะไร

  • No Code หรือ Low Code Platformsหมายถึง SAAS หรือ Software as a service ที่ช่วยให้เราสามารถพัฒนาระบบ Application ต่างๆทั้ง Web Application และ Mobile Application ประโยชน์เพื่อสร้างระบบที่ไม่ซับซ้อน ใช้งานง่าย สำหรับใช้งานกันเองในองค์กรขนาดเล็ก หรือใช้เพื่อพัฒนา Phototype ของ Digital Product/Services เพื่อทดลองโมเดลธุรกิจ (Proofing Business Model) กับกลุ่มเป้าหมายเล็กๆ หรือตลาดใหม่ๆ

MVP ย่อมาจากคำว่า Minimum Viable Product มีนิยามว่า ฟีเจอร์หรือความสามารถขั้นต่ำที่โปรดักท์นี้จะทำงานได้ถูกต้อง

ในยุคนี้ ลูกค้า และธุรกิจเปลี่ยนไป นอกจากอุปสรรคจากความเสี่ยงในการถูกกลืนกินหรือ Disruption แล้ว ทุกๆ ธุรกิจยังมีโอกาสจากการริเริ่มโมเดลธุรกิจใหม่ๆ โดยปรัชญาที่น่าสนใจที่นักธุรกิจยุคใหม่ให้การยอมรับคือ Build, Measure, Learn Cycle ที่ออกแบบโดย Eric Ries ผู้เขียนหนังสือ The Lean Startup

lean
  • Build (Experiments) หรือการสร้างหรือ Launch Prototype ที่ผลิตจากไอเดียที่คิดขึ้นมาให้ได้อย่างรวดเร็ว และต้อง Speed to market โดยไม่ต้องสนว่าเวอร์ชันแรกที่ผลิตมาจะสวยงามแค่ไหน
  • Measure (Metrics)หรือการกำหนดวิธีและวัดผลให้ชัดเจน เพื่อจะได้เข้าใจความต้องการจริงๆ ของลูกค้า
  • Learn (Pivot) การเรียนรู้จากสิ่งที่สร้างขึ้นมา และเลือกที่จะ Pivot รูปแบบใหม่ หรือการ Scale ธุรกิจให้ใหญ่ขึ้น

จากที่กล่าวมาทั้งหมด การสร้าง MVP App เวอร์ชั้นแรกที่จะ Speed to market เพื่อตรวจสอบว่า MVP App ที่เราคิดนั้นมันตรงใจลูกค้าแค่ไหน มีตลาดรองรับขนาดไหน และยกระดับเป็นสินค้าได้จริงหรือไม่

แต่พอกลับมาดูวิธีการบริหาร Technology Project โดยปกติขั้นตอนการทำงานของทุกๆ หน่วยงานมักจะเป็นในรูปแบบ Waterfall หรือการส่งมอบงานกันเป็นเฟสๆ โดยอาจจะเริ่มต้นจากการที่ Project Owner ทำบรีฟ > สรุป Requirement > แตก Requirement เป็น Task งาน > ส่งมอบงานให้ Designer ทำ Wireframe > ทำ Wireframe เสร็จส่งให้ Copy Writer เขียน Copy > ส่งต่อ HTML Editor ตัดงาน > ส่งต่อให้ Develop พัฒนาระบบ > นำขึ้น Staging Environment เพื่อทดสอบ และสุดท้ายนำขึ้น Production Server

grant-chart

แน่นอนจาก Waterfall Method ที่กล่าวมาเหมาะสมที่สุดกับการสร้าง Internal Platform หรือระบบที่ End Users เป็นคนภายในองค์กร เข้าใจความต้องการอย่างชัดเจน หรือไม่ก็สามารถปรับตัวให้เข้ากับฟีเจอร์การทำงานของระบบตามที่ Project Owner คิดและออกแบบได้

            แต่การสร้าง Platform หรือระบบสำหรับผู้บริโภคจริงๆ ในตลาดมีความแตกต่างกัน! อย่างที่เกริ่นในบทก่อนหน้านี้เรื่อง Customer Behavior Shift ลูกค้าเปลี่ยนไปมา Business Model Change ก็แตกต่าง สูตรทางธุรกิจเดิมๆ ใช้ไม่ได้อีกต่อไป

cover-no-code-platform
ตัวอย่างรายชื่อเครื่องมือ No Code Platforn

            แพลตฟอร์มหรือระบบยุคใหม่ต้องสามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็ว ใช้ต้นทุนน้อยในการผลิต (หรือเฟล) สามารถทำเพื่อ Valid หรือ Proof MVP ได้อย่างรวดเร็ว คำว่า ‘No-code/Low-code Platform’ คือการสร้างระบบที่มีการเขียนโค้ดให้น้อยที่สุด หรือไม่ต้องโค้ดดิ้งเลยจึงเป็น Rising Trend ที่สำคัญ

            ลองจินตนาการว่าเราได้สินค้ามา 20 ชนิดจากประเทศจีน และอยากขายแบบ E-commerce และทำ Direct to Consumer แต่เราไม่รู้ว่าสินค้าที่เอามาจะเป็นที่ต้องการของลูกค้ามากแค่ไหน จะขายดีแค่ไหน แทนที่เราจะทำแบบ Full Scale โดยการเช่า Server, จ้างคนเขียนระบบ E-commerce, ทำระบบ Payment Gateway โดยที่ยังไม่รู้ว่าสินค้า (หรือ Business Idea) จะโดนใจลูกค้ากลุ่มไหนอย่างไรบ้าง เป็นการตัดสินใจที่มีความเสี่ยงสูง

“If you're not embarrassed by the first version of your product,
you've launched too late.?
Reid Hoffman, Co-founder of LinkedIn

            ถอดความคร่าวๆ ได้ว่า  “ถ้าสินค้าเวอร์ชันแรกของคุณไม่ทำให้ขายหน้าละก็ แสดงว่าคุณเปิดตัวช้าไปแล้ว”

            เราสามารถเลือกใช้ No-code Platform เช่น Wix, WordPress, GB Prime ใช้สร้างระบบได้อย่างรวดเร็ว (ไม่เกิน 7 วัน) สามารถลองยิง Ads ลองตั้งชื่อสินค้าแบบ A/B Testing เพื่อดู Performance ของสินค้า หมายความว่าภายใน 1-2 เดือน เราก็จะพอทราบทิศทางของธุรกิจว่า ควรจะปรับเปลี่ยนฟีเจอร์ หรือควรจะพัฒนาระบบอย่างจริงจัง เพื่อให้โครงสร้างพื้นฐานหรือ Infrastructure รองรับ Scale ของ Users ในระบบที่มากขึ้น โดยตั้งต้นจาก No-code Platform ที่เราทดลองตลาดนั่นเอง

            ตัวอย่างการใช้ MarTech Stacks ในรูปแบบ No-code Platform

no-code-platform
  • Reach เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายด้วยการยิงแอด
  • Traffic เข้ามาที่ Sale Page ที่สร้างด้วย Wix, Wordpess หรือดึงคนเข้า FlowBased Chat Bot เพื่อนำทางไปดูและซื้อสินค้าด้วย ManyChat
  • Convert ผ่านระบบ Payment ต่างๆ เช่น Paypal, GB Pay
  • Collect Data ไปเก็บที่ Google Sheet
  • Communicate หาลูกค้าด้วยระบบ Email Marketing หรือ Marketing Automation เช่น Sendinblue, Mailchimp
  • Visualization ดึงข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วย Google Data Studio

            จาก Stacks ด้านล่าง ในช่วงทดลองตลาดโดยใช้เวลาราวๆ 3-6 เดือน เราจะเสียค่า Subscription No-code เหล่านี้เดือนละไม่เกิน 2,000 บาท แน่นอน

นอกจากการสร้าง E-commerce Platform ซึ่งเป็นระบบซื้อขายสินค้าแล้ว วงการการพัฒนา Application ก็ต้องคอยจับตาเมื่อมี No-code Platform หลายๆ ตัวที่สามารถสร้าง Web/Mobile Application ได้โดยไม่ต้องเขียนโค้ดเช่นกัน แค่เลือก Template หรือสร้างใหม่แบบ Start from Scratch ก็แค่อาศัยการลากวางวัตถุต่างๆ ในหน้าจอ ไม่ว่าจะเป็น แบบฟอร์ม รูปภาพ ปุ่ม และเราสามารถเชื่อมโยงแต่ละ Screen เข้าด้วยกันได้

What is adalo
ตัวอย่าง No Code Platform “Adalo”

            นอกจากนี้ ยังสามารถเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลข้างนอกได้ผ่าน API หรือผ่านระบบ Integration Platform ที่ชื่อ Zapier ก็ได้ โดยรองรับการสร้าง Web/Mobile Application เพราะ No-code บางตัวก็เปิดให้สมาชิกที่สมัครแบบจ่ายเงินสามารถ Submit Application ขึ้น App Store ได้ด้วยเลย

แนะนำ No Code Platform อื่นๆ

Appy Pie

No-Code Platform ที่ช่วยให้เราสร้าง Mobile App ได้เองโดยไม่ต้องโค้ดดิ้ง ตัวนี้ชื่อว่า Appy Pie ดู UI แล้วเน้นใช้งานง่าย และแยกพัฒนาสำหรับ Android, iOS ได้เลย

ค่าใช้จ่ายเดือนละ 5ร้อยกว่าบาท
https://bit.ly/3DeZAxx


Bubble “No-code Platform”

ที่น่าสนใจอีกตัว แต่บอกเลยว่า ตัวนี้ Advance มากๆสร้างได้ละเอียดยิบ UI และการกำหนด Condition ต่างๆซับซ้อนมากๆ สามารถสร้าง Application ที่ Advance ได้เลยย


Free version มีความสามารถคือ
– เก็บ Logs ได้ 30 minutes
– Storage 500MB
– ไม่มี API
– Custom domain
 ไปลองเล่นกันได้ที่นี่นะครับ https://bit.ly/3CS348v


ติดต่อขอรับคำปรึกษาด้าน Marketing และ Technology

  • ให้คำปรึกษาตั้งแต่การวาง Technology Roadmap
  • การเลือกเครื่องมือที่ตอบโจทย์ธุรกิจที่สุด
  • การวาง Data Foundation ให้รองรับสเกลของธุรกิจ
  • การ Implement Platform อย่างมีระบบ
  • การทำ Change Management และการติดตามการ Adoption
  • ควบคุมการบริหารโครงการด้วยผู้มีประสบการณ์ตรง
  • รับจำนวนจำกัดไม่เกิน 2 Projects / เดือน
Email : [email protected]

Jittipong Loespradit
Add me

Similar Posts