|

ปี 2024 ต้องเลือกช่องทางการตลาด อะไรให้เหมาะกับธุรกิจ 🧠

This post is also available in: อังกฤษ

กลยุทธ์ดูแลช่องทางการตลาดปี 2023 เราต้องอยู่ในทุกๆ Platforms เลยหรือไม่ เราต้องมีทั้ง Facebook ต้องมี IG มีไลน์ มี Twittter มี GMB มีMarketplace มีYouTube มีTiktok มีLinkedIn ทั้งหมดหรือเปล่า ผมพบว่า หลายๆคนที่รู้จัก ที่ประสบความสำเร็จในการทำการตลาด พวกเค้าไม่ต้องมีหน้าร้านในทุกๆแพลตฟอร์ม แค่เข้าใจจุดเด่นในแต่ละที่ก็เพียงพอ

Facebook Page

เอาไว้ให้คนติดตามข่าวสารเพิ่มเติม, เอาไว้รองรับเวลาคนค้นหาชื่อแบรนด์ เอาไว้รับออเดอร์

  • แบรนด์ใหญ่ๆต้องมีเพื่องานบริการลูกค้า
  • กลุ่มคนขายสินค้าออนไลน์ที่มีจำนวน SKU เยอะ
  • กลุ่ม Creator เช่นกลุ่มนักรีวิวต่างๆ สามารถใช้ประโยชน์เพจ ได้การมองเห็นเหมือนเดิม

Facebook Page ยังไปได้ดีกับกลุ่มที่ Niche และเน้นอ่านข้อมูลแบบ Long Form

ตัวอย่างโพสกแบบ Long Form ที่ก็ยังได้รับ Engagement ที่ดีจาก https://web.facebook.com/poetryofb


Facebook Group กลุ่มสังคมในเฟส

 บางคนเน้น Facebook Group เช่น

  • คนขายอะไหล่รถยนต์ที่จะพาตัวเองไปอยู่ในคลับรถยนต์ต่างๆ เพื่อหาโอกาสขายของ
  • คนที่เป็น Content Stotytelling / Creator ใช้เพื่อรักษา Engagement กับฐานผู้ติดตาม
  • เอาไว้สร้าง Community เช่น รวมศิษย์เก่าของหลักสูตรต่างๆ
  • เอาไว้ขายที่พัก หรือร้านอาหารเสริม เข่นกลุ่มรวมที่พักเชียงใหม่ กลุ่มรวมที่พักปาย
  • กลุ่มสินค้าบิวตี้ ที่ใช้กลุ่มในการ สื่อสารกับตัวแทนขาย เป็นต้น

ตัวอย่าง กลุ่มชื่อ “ชมรมคนรักน่าน_สะปัน_ปัว_บ่อเกลือ” ที่เปิดพื้นที่ให้นักท่องเที่ยว ประกาศหาโรงแรมที่พัก ซึ่งในกรณีที่ โรงแรม รีสอร์ท ที่ไม่ได้อยู่ใน Platform Booking, Agoda ก็สามารถใช้ช่องทาง Facebook Group ในการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้เช่นกัน

https://web.facebook.com/groups/363412104608570

YouTube อย่างเดียวก็หากินได้

  • YouTuber สาย cover เพลง โดยเฉพาะคนที่มี Appeal ที่ดีด้วยจะทำให้ช่องไปได้เร็ว
  • กลุ่มเล่าเรื่องเฉพาะทาง เช่นช่องสารคดี ช่องวิทยาศาสตร์ ช่องข่าวดารา
  • สาย Steamer เกมส์เจาะกลุ่ม เยาวชนและเด็กต่ำกว่า 10 ปีไปเลย เช่น Heartrocker กลุ่มนี้ก็ใช้ Youtube เป็นหลัก

ตัวอย่างช่องสารคดี ที่เน้นช่องทาง Youtube อย่างเดียว ก็สามารถสร้างฐานผู้ติดตามได้ไม่แพ้รายการสารคดีจากช่องโทรทัศน์

กลุ่มนี้อาศัยการเล่าเรื่องเป็น EP จะทำให้คนต้องกด Subscribe เพื่อจะได้ไม่หลุดตอนต่อไป , เน้นการทำภาพหน้าปกให้น่าสนใจ และศึกษา algorithms ในการที่ YT จะดึง Video ที่ใกล้เคียงกันมาแสดงเป็น Next Video ไว้ด้วยเพื่อการทำ Youtube SEO

ไว้มาเล่าเพิ่มเรื่อง Content-Based และ Item-Based recommendations กดติดตามไว้นะครับ


Instagram เป็นหลัก

บางคนมี Instagram เป็นหลัก เช่น แบรนด์แฟชั่นต่างๆ เน้นฝากร้านตาม IG ดาราและคนดัง

  • ส่วนใหญ่คนที่ลุย IG marketing จะเน้นให้คนที่สนใจสินค้ากดลิ้งค์แอดไลน์ในโปรไฟล์
  • แนะนำให้ศึกษาเครื่องมือย่อลิงค์ไลน์เช่น Bitly เพื่อจะแทร็คจำนวนคนคลิกลิงค์แอดไลน์

Line Official

บางธุรกิจใช้ Line เป็นหลัก โดยเฉพาะสินค้าประเภท Mass หรือขายได้ในวงกว้าง โดยอาศัยกลยุทธ์หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น

  • การยิงแอดเพื่อเพิ่มเพื่อน
  • การใช้ Line Openchat เพื่อสร้าง Community เฉพาะกลุ่ม เช่นกลุ่มเรียนออนไลน์ กลุ่มศิลปินเกาหลี เพื่อกลับไป resell ขายสินค้าได้ไม่ต้อง Boardcast ตลอดเวลา
  • การใส่ Tag ให้แต่ละแชท เพื่อทำ segmentations ของเพื่อนแบบคร่าวๆ เช่น ใส่แท็กกลุ่มลูกค้าเก่าที่ซื้อสินค้าตามหมวดหมู่ เพื่อให้สามารถ Boardcast เนื้อหาสินค้า บริการได้แบบเจาะจง (Relevant) ไม่หว่านไปทั่ว

Short Video Marketing

กระแสวีดีโอสั้นมาแรง จากการที่ผู้คนเริ่มอิ่มตัวกับ Social Media Platforms หลักอย่าง Facebook และ Twitter ด้วยความที่วีดีโอสั้นๆเหล่านี้เข้าถึงง่าย สนุกสนาน เป็นเรื่องราวของคนไม่รู้จัก
พบว่า การใช้แค่ Short Video ไม่ว่าจะ Tiktok, Facebook Reel ก็ขายของได้ ไม่ว่าจะเป็ฯ
– เน้นคอนเทนท์ที่แมส ตลก เข้าถึงง่าย
– สินค้าซื้อง่ายขายของ หรือเหมาะกับเนื้อหาวีดีโอสั้น เช่นเครื่องมือช่าง อุปกรณ์ DIY เครื่องปรุงอาหารต่างๆ

Video แนว DIY, Cooking Recipes ยังได้รับความนิยมมากมาย

Website, E-Commerce Website

การสร้าง Website เอง ก็ยังเป็นช่องทางสำหรับในการทำการตลาดในปี 2023 ด้วยเหตุผลหลักๆคือ

  • Website จะมีข้อมูลเกี่ยวกับแบรนด์และสินค้าครบถ้วน มีระบุที่อยู่ ช่องทางการติดต่อ หรือสาขาหน้าร้าน ทำให้ธุรกิจที่มีหน้า Website (และลูกค้าหาเจอ) ย่อมได้รับว่ามีตัวตน และน่าเชื่อถือ
  • E-Commerce หรือระบบ Website ที่ผู้ใช้งานสามารถคลิกเลือกสินค้า กดสั่งซื้อ ชำระเงินผ่านหน้าเว็บ หรือผ่าน QR code ได้เลย ก็เป็น Channel Strategy ที่เหมาะสมสำหรับธุรกิจขายสินค้าแบบ Low Involvement หรือสินค้าที่ตัดสินใจได้รวดเร็ว

ตัวอย่าง Website E-Commerce ของ Advice ที่ปรับตัวจากธุรกิจการขายสินค้าผ่านหน้าร้านตามจังหวัดต่างๆ มาสู่ช่องทางการขายของออนไลน์

advice

Search Marketing ยังใช้ได้ดี

บางคนใช้แค่เว็บไซต์กับช่อง SEO อย่างเดียว

  • เน้นทำ Content แบบ Long-Form เพื่อทำให้ SEO Quality ดี
  • ใช้กลยุทธ์ Lead Magnet เพื่อให้ User ที่เข้ามายอมกรอกข้อมูล หรือสมัครสมาชิก มาเป็น 1st Party Data ของเรา
  • หลังจากเป็น Lead ก็หาทางเก็บข้อมูลบางอย่างเพิ่ม เพื่อให้รู้ได้ว่าลูกค้าสนใจสินค้าของเราจริงๆ เช่นการส่งโปรโมชั่น คูปอง แล้วดูว่าคนเหล่านี้คลิกลับมาอ่านหรือไม่
  • หรือถ้าเป็นธุรกิจ B2B ก็พยายามหาทางเก็บ “คุณลักษณะหรือ Attribute” ที่เป็นสัญญาณว่า Lead คนที่ผ่าน (Qualify) เช่นเป็นบริษัทใหญ่มีกำลังซื้อ Lead คนนี้เป็น ผจก ฝ่ายจัดซื้อ ที่(ปกติ) เป็นคนตัดสินใจซื้อสินค้าเรา เราควรจะส่งมนุษย์เซลส์ไปประกบก่อน

ตัวอย่าง การเชื้อเชิญให้คนยินยอมให้ข้อมูล และกับการ Download E-Book ต่างๆ โดยเราเรียกกลยุทธ์ประเภทนี้ว่าหลีดเจน (Lead Generation)

ตัวอย่างจาก Wisible https://bit.ly/3GwK6sy


GMB (Google My Business) ก็เพียงพอ

บางคนเหลือเชื่อมีแค่ หมุด GMB (Google My Business) ใน GG map อย่างเดียว ก็ทำมาหากินได้ ร้านปะยาง24ชั่วโมง ร้านซักอบรีดในเมืองท่องเที่ยว ร้านอาหาร ร้านขนม ในเมืองท่องเที่ยว

ตัวอย่างคำที่ถูฏค้นหาใน Google Map จำนวนมาก



แต่ๆๆๆ กระนั้นก็ดี การศึกษาหาความรู้ จุดเด่น จุดด้อย ข้อจำกัดในแต่ละแพลตฟอร์มก็ยังเป็นเรื่องสำคัญ ✍️ เรายังต้องศึกษา หรือลองให้รู้ อย่างลึกซึ้ง ก่อนที่จะตัดสินว่าเราจะจริงจังกับการตลาดในแพลตฟอร์มไหนบ้าง

สรุป หลายคนที่ประสบความสำเร็จในการทำการตลาด ได้โดยที่ไม่ต้องมีหน้าร้านในทุกๆแพลตฟอร์ม เลือกทำบนแพลตฟอร์มที่ถนัด ตรงกลุ่มเป้าหมาย ดีกว่ามีหน้าร้านทุกแพลตฟอร์มแต่ปล่อยร้างไว้ ไม่ดูแลครับ
💙 อยากรู้เพิ่มเติม Google หาหนังสือ “จิตติพงศ์ เลิศประดิษฐ์

Similar Posts